เทคนิคการใช้เพลง




เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน
ความหมาย
                เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง,ทำนอง  (ราชบัณฑิตยสถาน,2542:799)
                 ชัยวัฒน์  เหล่าสืบตระกูล  (2549:16) อธิบายว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง  ทำนองดนตรีที่เรากระทำเพื่อสนองความต้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ตลอดจนเพื่อเป็นกิจกรรมทางสังคมอีกด้วย
                สนอง  อินละคร  (2544:108) กล่าวว่า เพลงเป็นกิจกรรมที่ผู้จัดให้นักเรียนได้เรียนรู้จากเนื้อหา ทำนอง ซึ่งให้เห็นถึงชีวิต วัฒนธรรมในแง่มุมต่าง ๆอีกทั้งยังแนะนำสั่งสอนในด้านคุณธรรมอันเป็นแรงจูงใจให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอีกด้วย
                ศิริพร  หงส์พันธ์ (2540 : 258)   ได้ให้ข้อเสนอแนะในการสอนบทเพลงในการสอนบทเพลงว่า ครูควรจัดบทเพลงประกอบการเรียนการสอนให้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม เพราะการใช้บทเพลงประกอบการสอนเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เด็กสนใจบทเรียน และรู้สึกสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย ในการใช้บทเพลงประกอบการสอนนั้น ครูจะต้องมีวิธีที่จะทำให้เด็กสนใจและร้องเพลงได้ และควรเลือกเพลงที่เหมาะสมกับเด็กด้วย
เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน  หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้อง หรือครูร้องให้นักเรียนฟัง เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน
                วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน มีหลายประการที่สำคัญ ดังนี้
1.เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ไม่เครียด และเอื้อต่อการเรียนรู้
2.นักเรียนได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
3.เพื่อสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมผ่านเนื้อร้องของเพลงและความหมาย
4.ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ประโยชน์ของเพลงประกอบการสอน
                ในชีวิตประจำวัน เพลงช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้สนุกสนาน และสื่อความหมาย ตามวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์ เพลงเพื่อชีวิตหลาย ๆเพลงสะท้อนปัญหาทางสังคมหรือให้แง่คิดในการดำเนินชีวิต เพลงที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะให้คุณค่าด้านคุณธรรม เพลงประกอบการสอนก็เช่นเดียวกัน มีประโยชน์หลายประการรายละเอียดดังนี้
                สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์       (2550: 29-30)   กล่าวว่า การใช้เพลงประกอบการสอนจะช่วยทำให้บทเรียนน่าสนใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียนในการเรียน ช่วยให้จดจำเนื้อหาและประทับความรู้สึกไว้ได้นาน และช่วยทำให้บทเรียนยากดูง่ายขึ้นการใช้เพลงประกอบการสอนในระดับประถมศึกษามีประโยชน์มาก เพราะเด็กในวัยนี้ชอบเล่น ชอบแสดง ชอบร้องเพลง
ประโยชน์ของเพลงประกอบการสอน
Ø สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้                                                                    
Ø บทเรียนน่าสนใจ
Ø สร้างแรงจูงใจ
Ø สร้างระเบียบวินัย
Ø ส่งเสริมพัฒนาการ
Ø เกิดความสนุกสนาน
Ø บทเรียนง่ายขึ้น
Ø จดจำเนื้อหาได้นาน
ลักษณะของเพลงประกอบการสอน
                คณิต  เขียววิชัย  (2534:84 ) กล่าวถึงลักษณะของเพลงที่นำมาใช้ประกอบการสอน ดังนี้
                1. เป็นเพลงที่ง่ายและสั้น สามารถจดจำเนื้อร้องได้ภายในระยะสั้น  ๆ เมื่อนักเรียนได้ร้องประมาณ
1-2 เที่ยวก็สามารถจำเนื้อได้
                2. สนุกสนาน กระตุ้นและเร้าใจ เพลงประกอบการสอนจะต้องเป็นเพลงที่สนุกสนานและมีท่วงทำนองที่ร้องง่าย ๆไม่ยากนัก
                3. เพลงนั้นจะต้องมีเนื้อร้องที่ไม่หยาบคาย การร้องเพลงนั้นต้องคำนึงถึงสิ่งเล่านี้มาก เพราะภายในชั้นเรียนเป็นบรรยากาศของการเรียนการสอนเนื้อเพลงที่หยาบคายอาจจะสนุกในสถานการณ์อย่างหนึ่ง แต่จะไม่เหมาะสำหรับนักเรียน
เทคนิคการนำใช้เพลงประกอบการสอน
                สุนันทา  สุนทรประเสริฐ  กล่าวว่า การนำกิจกรรมเพลงมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถกระทำได้หลายโอกาส คือ
1.การใช้นำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นแรงจูงใจของนักเรียน
2.ใช้เพลงดำเนินการสอน โดยให้นักเรียนเลือกเขียนเรื่องจากเพลง
3.ใช้เพลงสรุปบทเรียนเพื่อทบทวนเนื้อหา เป็นการย้ำเตือนอีกครั้งหนึ่ง
4.ใช้เพลงสำหรับฝึกออกเสียง
5.ใช้เพลงในการวัดผลประเมินผล

  ณรงค์  กาญจนะ เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม1 กรุงเทพฯ:จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ ,2553